วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

วันตรุษจีน

Chinese New Year


อาหารไหว้เจ้า ของไหว้ตรุษจีน
ในวันฉลองตรุษจีนอาหารจะถูกรับประทานมากกว่าวันไหนๆในปี อาหารชนิดต่างๆที่ปฏิบัติกันจนเป็นประเพณี จะถูกจัดเตรียมเพื่อญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง รวมไปถึงคนรู้จักที่ได้เสียไปแล้ว ในวันตรุษครอบครัวชาวจีนจะทานผักที่เรียกว่า ไช่ ถึงแม้ผักชนิดต่างๆที่นำมาปรุง จะเป็นเพียงรากหรือผักที่มีลักษณะเป็นเส้นใยหลายคนก็เชื่อว่าผักต่างๆมีความหมายที่เป็นมงคลในตัวของมัน
ความหมายของไหว้ตรุษจีน ความหมายของ ของไหว้วันตรุษจีน
เม็ดบัว - มีความหมายถึง การมีลูกหลานที่เป็นชาย
เกาลัด - มีความหมายถึง เงิน
ถั่วตัด  - หมายถึง แท่งเงิน
สาหร่ายดำ - คำของมันออกเสียงคล้าย ความร่ำรวย
เต้าหู้หมักที่ทำจากถั่วแห้ง - คำของมันออกเสียงคล้าย เต็มไปด้วยความร่ำรวย และ ความสุข
หน่อไม้ - คำของมันออกเสียงคล้าย คำอวยพรให้ทุกอย่างเต็มไปด้วยความสุข
เต้าหู้ที่ทำจากถั่วสดนั้นจะไม่นำมารวมกับอาหารในวันนี้เนื่องจากสีขาวซึ่ง เป็นสีแห่งโชคร้าย สำหรับปีใหม่และหมายถึงการไว้ทุกข์

ของไหว้ตรุษจีน ขนมไหว้วันตรุษจีน
    1.ขนมเข่ง คือ ความหวานชื่น ราบรื่นในชีวิต ขนมเข่งที่ใส่ในชะลอม หมายถึง ความหวานชื่นอันสมบูรณ์
    2.ขนมเทียน คือ เป็นขนมที่ปรับปรุงขึ้นจากชาวจีนโพ้นแผ่นดินดัดแปลงมาจากขนมท้องถิ่นของไทย จากขนมใส่ไส้เปลี่ยนจากแป้งข้าวเจ้าผสมกะทิมาเป็นแป้งข้าวเหนียวแทน มีความหมายหวานชื่น ราบรื่น รูปลักษณ์เป็นกรวยแหลมมีลักษณะเป็นมงคลเหมือนเจดีย์
    3.ขนมไข่ คือ ความเจริญเติบโต
    4.ขนมถ้วยฟู คือ ความเพิ่มพูนรุ่งเรือง เฟื่องฟู
    5.ขนมสาลี่ คือ รุ่งเรือง เฟื่องฟู
    6.ซาลาเปา หรือ หมั่นโถว คือ ไหว้เพื่อให้เปาไช้ แปลว่าห่อโชค
    7.จันอับ (จั๋งอั๊บ) หมายถึง ปิ่นโต หมายถึงความหวานที่เพิ่มพูน มีความสุขตลอดไป
         
อาหารอื่นๆ รวมไปถึงปลาทั้งตัว เพื่อเป็นตัวแทนแห่งการอยู่ร่วมกัน และความอุดม- สมบรูณ์ และไก่สำหรับความเจริญก้าวหน้า ซึ่งไก่นั้นจะต้องยังมีหัว หางและเท้าอยู่ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ เส้นหมี่ก็ไม่ควรตัดเนื่องจากหมายถึงชีวิตที่ยืนยาว
ทางตอนใต้ของจีน จานที่นิยมที่สุดและทานมากที่สุดได้แก่ ข้าวเหนียวหวานนึ่ง บ๊ะจ่างหวาน ซึ่งถือเป็นอาหารอันโอชะ ทางเหนือ หมั่นโถ และติ่มซำ เป็นอาหารที่นิยม อาหารจำนวน มากที่ถูกตระเตรียมในเทศกาลนี้มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์และความร่ำรวยของบ้าน

เกร็ดความรู้เรื่องความกลัว



บางคนอาจจะคิดว่าความกลัวเป็นเรื่องไม่มีเหตุผล และบางทีความกลัวก็มีที่มาแปลกๆ ความกลัวของแต่ละคนยังแตกต่างกันไป ผู้คนมีเป็นเรือนล้าน ความกลัวก็มีนับร้อย ถ้าเราควบคุมความกลัวให้อยู่ในขอบเขตได้ การดำเนินชีวิตก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าความกลัวมีมากเกินไป มันก็จะกลายเป็นโรคภัยที่คุกคามปกติสุข จนกลายเป็นความทุกข์ทรมาน ก็ต้องถึงเวลาที่เราจะต้องบำบัดรักษา                แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น เรามาทำความรู้จักโรคกลัวในบาง แง่มุมกันดีกว่า
โรคกลัวคืออะไร                โรคกลัว (Phobia) มาจากภาษากรีก ph??bos แปลว่า กลัวอย่างไร้เหตุผล โรคกลัวเป็นความกลัวต่อสภาวะ สถานการณ์ กิจกรรม หรือบางสิ่งที่ทำให้อยากหลีกหนี เป็นความวิตกกังวลแบบรุนแรง ฝังแน่นในสิ่งที่ไม่เป็นจริง คนที่มีอาการกลัวมักจะพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เขารู้สึกวิตกกังวล หรืออาจต้องทนอยู่กับสถานการณ์นั้นอย่างยากลำบาก อย่างไรก็ตาม คนที่มีอาการเหล่านี้มักจะรู้ตัวว่าพวกเขากลัวเกินเหตุ และรู้ตัวว่ามีปัญหาเกิดขึ้นกับพวกเขา แต่ก็เป็นสิ่งที่เขาควบคุมไม่ได้ มันทำให้หมดแรง กังวลใจ ไม่สบายใจ เมื่อไม่อาจควบคุมความกลัวได้ หรืออาจส่งผลกระทบไปถึงชีวิตประจำวัน โรคกลัวจัดเป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง พบว่าผู้หญิงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายในทุกช่วงอายุ

สาเหตุของโรคกลัวคืออะไร                สาเหตุของโรคกลัวนั้นไม่ทราบแน่ชัด ส่วนหนึ่งเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ส่วนหนึ่งก็มีอิทธิพลจากวัฒนธรรม การอบรมเลี้ยงดู และถูกกระตุ้นให้เกิดได้โดยเหตุการณ์บางอย่างในชีวิต คนที่มีพี่น้องใกล้ชิดเป็นโรคกลัว มีแนวโน้มเป็นโรคกลัวมากกว่าคนที่ไม่มีประวัติในครอบครัวถึงสามเท่า คนที่ได้รับการเลี้ยงดูและปกป้องอย่างดี หรือไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร ก็มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเป็นโรคกลัว

                กลไกของโรคกลัวนั้นมักจะเชื่อมโยงกับสมองส่วนอะมิก- ดาลา สมองส่วนนี้กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่ส่งผลต่อความกลัวและความก้าวร้าว เมื่อเกิดความกลัวหรือรู้สึกถูกคุกคา อะมิกดาลาอาจกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนในร่างกายทำให้ ร่างกายอยู่ในภาวะตื่นตัว พร้อมที่จะขยับตัว วิ่งหนี หรือสู้  การตื่นตัวนี้ในทางจิตวิทยาเรียกว่า การตอบสนองแบบต่อสู้หรือถอยหนี (flf ight or flflf l ight response)

อาการของโรคกลัวคืออะไร
                อาการของโรคกลัว คือความรู้สึกว่ากังวลจนควบคุมตัวเองไม่ได้เมื่อเจอสิ่งที่กลัว มีความรู้สึกว่าจะต้องทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อหลีกหนีสิ่งที่กลัว ทำงานตามปกติไม่ได้เนื่องจากกังวลใจ แม้จะรู้ว่าความกลัวที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องไร้เหตุผลหรือกลัวเกินเหตุ แต่ควบคุมไม่ได้ ทางร่างกายอาจมีเหงื่อออก ตัวสั่น ใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก รู้สึกตกใจกลัว กังวลใจอย่างแรง คลื่นไส้ ในบางกรณี แค่คิดก็มีอาการกลัวแล้ว

โรคกลัวมีกี่ชนิด                 ถ้าแบ่งแยกตามชื่อโรคแล้ว อาจนับได้เป็นร้อยๆ ชนิดเลย แต่ถ้าแบ่งเป็นกลุ่มก็แบ่งออกเป็นสามกลุ่มหลักใหญ่ๆ ได้แก่ โรคกลัวเฉพาะอย่าง (specific phobia), โรคกลัวสังคม (social phobia), และโรคกลัวที่สาธารณะ (agoraphobia)

                โรคกลัวเฉพาะอย่างเป็นความกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะอย่าง เช่น กลัวสัตว์ใหญ่ กลัวความมืด กลัวคนแปลกหน้า อาการเหล่านี้มักเป็นตอนเด็กๆ แต่จะหายไปเมื่อโตขึ้น  แต่ความกลัวบางอย่างอาจเกิดขึ้นตอนโต เช่น กลัวหนู แมลง พายุ น้ำ ความสูง การบิน หรือที่ปิด กลัวเลือด กลัวเข็มฉีดยา กลัวบาดแผลที่มีเลือดออก โรคกลัวเฉพาะอย่างนี้เพียงเติมคำศัพท์หน้าคำว่า phobia ก็จะเกิดชื่อโรคกลัวเฉพาะอย่างอีกนับร้อยๆ ชนิดเลยทีเดียว

                สำหรับโรคกลัวสังคมนั้น สิ่งที่ทำให้คนเป็นโรคนี้กลัวก็คือ การกระทำสิ่งต่างๆ ต่อหน้าคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการพูด การเล่นดนตรี กินอาหารต่อหน้าคนอื่น เซ็นเอกสาร การใช้ห้องน้ำสาธารณะ พวกเขาเป็นกังวลเกี่ยวกับว่า การแสดงออกของเขาจะไม่เหมาะสม เป็นกังวลว่าจะมีคนสังเกตเห็นความกังวล

                สุดท้ายคือกลัวที่สาธารณะ แม้ว่าโดยความหมายของ   คำว่า agoraphobia จะหมายถึงการกลัวตลาดหรือพื้นที่      เปิดโล่ง แต่คำนี้อธิบายถึงความกลัวที่จะติดอยู่ในสถานที่เหล่านี้ โดยหาทางออกไม่เจอ ซึ่งรวมไปถึงการต่อแถวในธนาคาร หรือในซูเปอร์มาร์เก็ต นั่งแถวกลางในโรงหนังหรือห้องเรียน  นั่งรถโดยสาร รถประจำทางหรือเครื่องบิน บางคนจะมีอาการเช่นนี้ผลกระทบของโรคกลัวคืออะไร

                โรคกลัวแต่ละแบบส่งผลกระทบต่อชีวิตของคนเราแตกต่างกันไป แต่ที่เหมือนกันก็คือ ทำให้เกิดความไม่สบายทั้งร่างกายและทางจิตใจ ส่งผลกระทบต่อการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน และความสัมพันธ์กับผู้อื่น เกิดความรู้สึกกังวลใจ   จนควบคุมไม่ได้ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว คิดว่าจะต้องทำทุกอย่างเพื่อหนีให้ไกลจากสิ่งนี้ ทำงานไม่ได้ตามปกติ เนื่องจากมีความกังวลใจ

                โรคกลัวของแต่ละคนมีระดับที่ไม่เท่ากันบางคนแค่หลีกจากสิ่งที่กลัวให้ห่างก็พอแล้ว แต่บางคนเป็นโรคกลัวมากจนดูเหมือนมากเกินไป โดยทั่วไปคนที่เป็นโรคกลัวมักจะเข้าใจดีว่าเขาเป็นโรคนี้ แต่ไม่มีแรงกายและแรงใจมากพอที่จะเอาชนะความกลัวที่ปรากฏขึ้นทันทีทันใด

                ความกลัวสังคมทำให้ปลีกตัวออกจากสังคม หลีกเลี่ยงการไปในที่สาธารณะ ซึ่งส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิต การสร้างความสัมพันธ์กับผู้คน การปลีกตัวออกจากกิจกรรมต่างๆ ทั้งส่วนตัวและการงาน อาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้า หรืออาจนำไปสู่การใช้สารเสพติด เช่น เหล้า ยาคลายเครียด ส่วนคนกลัวที่สาธารณะ จะทำให้รู้สึกไม่อยากออกจากบ้านเก็บตัว ไม่สมาคมกับผู้คน

                นอกจากนี้ยังพบว่า ความกังวลจากโรคกลัว ทำให้บางคนถึงกับเสี่ยงชีวิตโดยเพิ่มอัตราเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจทั้งชายและหญิงเลยทีเดียว

สูตรอาหารชีวจิต

นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 295

แกงขี้เหล็กเห็ดย่าง
เพราะความเป็นห่วงคุณผู้อ่าน คนสวยจึงตั้งใจทำเมนูอร่อยและเป็นยารักษาโรคในจานเดียวมาฝากกัน
“แกงขี้เหล็ก” กับข้าวไทยที่กินกันอยู่ทุกครัวเรือน ถือเป็นแกงที่มีรสชาติกลมกล่อมและมีประโยชน์ทั้งเป็นยาระบายอ่อนๆ และช่วยให้นอนหลับ แต่การจะทำแกงขี้เหล็กเหมือนที่ทำกันอยู่ทั่วๆไป ก็คงไม่สร้างความประทับใจให้ผู้อ่าน(เพราะมีกะทิเป็นส่วนประกอบซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพ)

คนสวยจึงต้องทั้งดัดทั้งแปลงกลายมาเป็น “แกงขี้เหล็กเห็ดย่าง” ที่อร่อยและดีต่อสุขภาพ เพราะใช้น้ำเต้าหู้แทนกะทิและใช้เห็ดย่างแทนหมูย่างหรือเนื้อย่างไม่เชื่อต้องลองทำดูนะจ๊ะ

ส่วนผสม
ขี้เหล็กต้มบีบน้ำออก ½ กิโลกรัม
น้ำพริกแกงแดง 1 ขีด
กระชายซอย 1 ขีด
ปลากรอบแกะเอาแต่เนื้อ 1 ขีด
เห็ดเออรินจิ 5-6 ดอก
น้ำเต้าหู้ 5 ถ้วย
น้ำปลา ¼ ถ้วย
น้ำตาลปึก 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันมะกอก ¼ ถ้วย
ซีอิ๊วขาวเล็กน้อย

วิธีทำ
1.หั่นเห็ดเออรินจิเป็นชิ้นยาวความหนา 1 เซนติเมตร
2.เหยาะซีอิ๊วขาวลงบนเห็ด คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำไปย่างบนกระทะจนสุก ตักขึ้นแล้วหั่นเป็นชิ้นขนาดพอคำ พักไว้
3.โขลกปลากรอบจนเนื้อปลาฟู ใส่น้ำพริกแกงลงไป โขลกจนส่วนผสมเข้ากันดี
4.ผัดน้ำพริกแกงแดงกับน้ำมันมะกอกจนมีกลิ่นหอม
5.ใส่น้ำเต้าหู้ลงไป ปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำตาลปึก
6.ใส่ขี้เหล็ก และเห็ดย่าง รอเดือด ใส่กระชายลงไป คนให้เข้ากัน เคี่ยวต่อสักพัก ปิดไฟ ตักใส่ถ้วย
Tip
1.สำหรับคนที่ไม่ชอบกินขี้เหล็กขม ควรต้มขี้เหล็กทิ้งน้ำหลายครั้ง หรือเวลาต้มให้ใส่ใบมะม่วงหิมพานต์แก่รองก้นหม้อก็จะช่วยให้ขี้เหล็กหายขมเร็วขึ้น
2.การใส่เนื้อปลากรอบจะทำให้แกงมีกลิ่นหอมมากกว่าการใส่เนื้อปลาย่าง